สมุทรสาคร รองผู้ว่าราชการจังหวัดรับมอบรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษพระราชทานรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษพระราชทาน และ รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย พระราชทาน เดินทางถึงสมุทรสาครแล้วเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น



วันที่ 27 มกราคม 2564 เวลา  15.00 น. ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร  นายธีรพัฒน์  คัชมาตย์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร  รับมอบรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษพระราชทาน (EXPRESS  ANALYSIS  MOBILE  UNIT ) จำนวน 1 คัน และรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทาน (BIOSAFETY  MOBILE UNIT )  จำนวน 3 คัน  จาก ดร.นายแพทย์ปรีชา  เปรมปรี  รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เพื่อนำมาใช้ในการค้นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดสมุทรสาครได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

ดร.นายแพทย์ปรีชา  เปรมปรี  รองอธิบดีกรมควบคุมโรค  พร้อมด้วย นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการสถาบันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง นำรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ (EXPRESS  ANALYSIS  MOBILE  UNIT ) จำนวน 1 คัน และรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทาน (BIOSAFETY  MOBILE UNIT )  จำนวน 3 คัน  พร้อมนักเทคนิคการแพทย์จิตอาสา เดินทางมาประจำ ณ  จังหวัดสมุทรสาครจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย เพื่อเสริมกำลังในการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ผลการตรวจในพื้นที่ ทราบผลภายใน 3 ชั่วโมง โดยไม่ต้องส่งไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์หรือห้องปฏิบัติการตามโรงพยาบาลต่างๆ สามารถตรวจได้ 800 -1000 ตัวอย่างต่อวัน ด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส หรือ RT-PCR (Real Time Polymerase Chain Reaction) ช่วยให้ค้นหาผู้ติดเชื้อได้รวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันควบคุมโรค 

ด้าน  นายธีรพัฒน์  คัชมาตย์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร  กล่าวว่า นับพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้  ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระราชทาน รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษพระราชทาน และ รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทาน   เพื่อตรวจหาผู้ติดเชื้อให้รวดเร็วยิ่งขึ้น  โดยได้พระราชทาน “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” ต้นแบบ ให้กระทรวงสาธารณสุขใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทาน เพื่อค้นหาเชิงรุกแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ อีกทั้งทราบผลรวดเร็วและแม่นยำ

สำหรับรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ เป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอย 16.8 ตารางเมตร (7 เมตร x 2.4 เมตร) ภายในประกอบด้วย 3 ห้องหลัก ได้แก่ ห้องสกัดสารพันธุกรรม ห้องเตรียมน้ำยาวิเคราะห์ และห้องวิเคราะห์ผลด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (Real Time Polymerase Chain Reaction (PCR)) ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจวิเคราะห์ผลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ สะดวกและปลอดภัย มีห้องบัฟเฟอร์เพื่อควบคุมและป้องกันการรั่วไหลของเชื้อโรค พร้อมเครื่องมือที่ติดตั้งภายในรถ ได้แก่ ตู้ปลอดเชื้อ ตู้ปฏิบัติงานพีซีอาร์ (PCR cabinet) เครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติ เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (real-time PCR) ตู้แช่แข็ง -20 องซาเซลเซียส ตู้ทำความเย็น 4 องศาเซลเซียส ช่องส่งตัวอย่างเครื่องเขย่าผสมสาร เครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอน ไมโครปิเปต (Micropipette) ระบบยูวีฆ่าเชื้อ ระบบสื่อสารสองทาง ระบบกล้องวงจรปิด และเครื่องล้างมือแอลกอฮอล์อัตโนมัติ 

รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษนี้ เป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้งานคู่กับรถพระราชทานเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยได้ เพื่อให้การออกตรวจเชื้อ COVID-19 มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน ทำให้สามารถเข้าช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที ซึ่งการจัดสร้างรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษคันนี้ ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เรียบร้อยแล้ว.

 พญาราหู / สุชาติ (หมู) /สมุทรสาคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

GAC AION บุกงาน Motor Expo ขนที่สุดของซูเปอร์คาร์รถไฟฟ้า Hyper SSR ขุมพลัง 1,225 แรงม้า 0-100 กม.ต่อชั่วโมง ภายในเวลา 1.9 วินาที ให้ผู้ขับได้สัมผัสแรงกระชากในระดับ 1.7 G

GAC AION ขนที่สุดของซูเปอร์คาร์รถไฟฟ้า Hyper SSR ขุมพลัง 1,225 แรงม้า 0-100 กม.ต่อชั่วโมง ภายในเวลา 1.9 วินาที ให้ผู้ขับได้สัมผัสแรงกระชากใน...